“ถ่ายเถา สุจริตกุล” จากผู้เขียนมือสมัครเล่น
สู่นักเขียนมือทอง พร้อมส่ง “เรยา” ครองใจแฟนๆ!!
ถือเป็นอีกหนึ่งบุคคลสำคัญที่เป็นทั้งนักเขียน
นักแปล และนักประพันธ์นวนิยายชื่อดัง สำหรับคุณ “ถ่ายเถา สุจริตกุล” ที่ได้สร้างผลงานนวนิยายดังมากมาย
อาทิ กล้วยไม้จากซานฟราน, มงกุฎดอกส้ม, ดอกส้มสีทอง ตุ๊กตาในป่าหนาว
ฯลฯ และยังเป็นเจ้าของรางวัลสุรินทราชา รางวัลราทิพย์ ฯลฯ จนผู้จัดละครหลายคน
หลายค่ายต่างคอยจับจ้อง ที่จะนำผลงานชิ้นดังขึ้นหิ้งชั้นครูของเธอ มาต่อยอดให้เป็นบทละครโทรทัศน์
หนึ่งในนั้นก็คงไม่พ้น นวนิยายเรื่องดังที่เป็นกระแสอยู่ในตอนนี้ อย่าง “เรยา” ที่ผู้จัด
ถา-สถาพร นาควิไลโรจน์ ได้ขอลิขสิทธิ์โดยตรง มาทำเป็นละคร ให้กับทางสถานีโทรทัศน์ช่อง
8 จนเป็นที่พูดถึงในสังคมถึงการรอคอยที่จะดูละคร จากนวนิยายดังเรื่องนี้ในวันจันทร์
8 มีนาคม เวลา 19.00 น. ตอนแรก และรับชมย้อนหลังได้ผ่านแอปพลิเคชัน AIS
PLAY เท่านั้น งานนี้ได้มีโอกาสเจอคุณถ่ายเถา เลยขอนั่งสัมภาษณ์ถึงความเป็นมา
“ก่อนเริ่มต้นมาเขียนนวนิยาย?”
หลาย
ๆ คนคงทราบกันมาบ้างแล้วว่าก่อนเขียนนวนิยายเคย
ดิฉันแปลหนังสือมาก่อน จนมีอยู่วันหนึ่งดิฉันคิดอยากลองเขียนนวนิยายบ้าง เลยใช้เค้าโครงจากนวนิยายของจีนมาดัดแปลง
จนเกิดเรื่อง “มงกุฎดอกส้ม” ตอนนั้นดิฉันอยู่ที่อเมริกา และได้เขียนส่งลงนิตยสารรายปักษ์ พอเริ่มได้ 2-3 บท ก็ปรากฏว่ามีนักสร้างละครโทรทัศน์โทรศัพท์ทางไกลจากกรุงเทพฯ
มาขอไปทำละคร แต่ฉันบอกให้รอก่อน เพิ่งอ่านไม่กี่บท เรื่องราวอาจจะไม่สนุกอย่างที่คิดก็ได้
ที่บอกไปแบบนั้นเพราะดิฉันเป็นคนต้องการให้ความยุติธรรมกับทุกคน
จนสุดท้ายก็ได้ทำ เมื่อมีการทำภาค 2 “ดอกส้มสีทอง”
ปรากฏว่ามีคนสนใจมาก ตอนนั้นก็ตกใจเหมือนกัน
เพราะไม่เคยคิดว่าตัวเองเป็นนักประพันธ์มืออาชีพ แต่เป็นแค่นักเขียนมือสมัครเล่นที่บังเอิญโชคดีได้เงิน
ทำไมถึงเขียน “เรยา” หลังจากภาคก่อน 2 ปี ซึ่งจริงๆตอนนั้นดังมาก
ถ้าเขียนต่อเลยคนก็จะยิ่งตาม?”
ตอนนั้น “ดอกส้มสีทอง” อยู่ในจุดสูงสุดของตัวมันอยู่แล้ว
ดิฉันคิดว่าถ้ายื้อต่อไปในทันทีที่จบ อย่างเก่งก็แค่เสมอตัว แต่มีโอกาสก็ดิ่งลง จึงตัดสินใจพักไว้ก่อนเพื่อรอเวลาที่เหมาะสม หลังจากนั้น 2 ปี จึงลงมือเขียน “เรยา”ซึ่งเป็นภาคอวสานของนวนิยายชุดดอกส้ม
เราสร้างตัวละครขึ้นมาแล้ว มันต้องมีที่มาที่ไปและถึงจุดจบในที่สุด
เรยาไม่ได้มาจากจินตนาการเท่านั้น
แต่จากประสบการณ์จริง?
“นวนิยายของดิฉันแต่ละเรื่อง ดิฉันใช้จินตนาการเป็นส่วนน้อย แต่ใช้ประสบการณ์ที่เคยสัมผัสมาด้วยตัวเองมาเป็นองค์ประกอบ
รวมทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ
ในชีวิตมนุษย์ เคยมีนักอ่านท่านหนึ่งถามดิฉันว่าทำไมชอบทรมานใจคนอ่าน ในเมื่อเรยาร้ายกาจขนาดนี้ ทำไมไม่เขียนให้ถูกฟ้าดินลงโทษให้สาสม เช่นถูกธรณีสูบ ฟ้าผ่าตายหรืออะไรทำนองนั้น ดิฉันตอบเธอไปว่าชีวิตคนเราจริง ๆ
เป็นแบบนั้นหรือคะ คนทำเลวได้ดีเยอะแยะไป ส่วนคนทำดีไม่มีใครมองเห็นก็มาก นวนิยายของดิฉันยึดติดกับวิสัยปุถุชนธรรมดา ไม่มีใครเลวจนไม่มีอะไรดีเสียเลย คนที่ว่าดีก็ไม่เลิศจนทำความเลวไม่เป็น แต่ถึงอย่างไร
มนุษย์ทุกคนมีเหตุผลให้กับตัวเองเสมอ
ทำดีทำชั่วมีเหตุผลของตัวเองทั้งนั้น อย่างเช่นเรยา ทุกสิ่งที่ทำลงไป ไม่ว่าดีเลวอย่างไร เรยาก็มีเหตุผลที่เข้าข้างตัวเอง เรยาเป็นอย่างนี้เกิดจากใคร เพราะอะไร ฯลฯ เรยามีเหตุผลรองรับการกระทำของตัวเองตลอด
ถึงแม้ทุกคนจะประนามเรยาเรื่องมีสามีหลายคน
แต่อย่าลืมนะคะว่าจริง ๆ แล้วเธอมีทีละคน มีชู้ทางใจไม่ผิดบาปอะไรใช่ไหม ถ้าสังเกตดี ๆ
จะเห็นว่าดิฉันเข้มงวดเรื่องความถูกต้องและศีลธรรมในนวนิยายของดิฉันเสมอ
หลาย
ๆ คนอยากเห็นจุดจบของเรยา?”
คงต้องรอดู
ทุกคนมีจุดจบของตัวเองกันทั้งนั้น
เรยาก็เช่นกัน อย่าลืมว่าคนเราเลือกเกิดไม่ได้ แต่เลือกที่จะดูดซับสิ่งที่ดีรอบตัวได้
แต่ถึงอย่างไรคนที่ได้รับการศึกษามักมีโอกาสมากกว่าคนที่มีการศึกษาน้อย
เรยาบังเอิญไม่ชอบเรียนหนังสือซึ่งเป็นเรื่องปกติของเด็ก
ๆ เธอเป็นเพียงมนุษย์คนหนึ่งที่อยากได้ใคร่ดีและดิ้นรนเพื่อไปให้ถึงความฝัน เรยาผิดร้ายนักหรือ
“พลอยมารับบทเรยา?”
ดีใจค่ะที่พลอยมารับบทเรยา
ดิฉันติดตามผลงานของเธอมาแล้วหลายเรื่อง คิดเลยว่าผู้หญิงคนนี้นอกจากสวย ฝีมือการแสดงของเธอยังอยู่ในระดับเด่นจริง
ๆ พลอยเหมาะมากสำหรับบท “เรยา”
“สิ่งที่อยากบอกแฟน
ๆ ที่ตั้งหน้าตั้งตารอ?”
ไม่อยากให้ดู
“เรยา” เพื่อความบันเทิงอย่างเดียว แต่อยากให้ใช้เป็นแง่คิดลึก ๆ ถึงเหตุถึงผลของการกระทำของตัวละครซึ่งเป็นเพียงมนุษย์ธรรมดา
ๆ อะไรไม่ถูกไม่ควร ก็อย่าจดจำเป็นแบบอย่าง แต่ใช้วิจารณญาณคัดกรองและนำสิ่งที่เป็นประโยชน์มาปรับใช้ในชีวิตค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น